top of page
ค้นหา

แนวทางการประเมิน KSAOs อย่างเป็นระบบในองค์กรขนาดกลาง

  • รูปภาพนักเขียน: Ruttakorn
    Ruttakorn
  • 28 เม.ย.
  • ยาว 1 นาที
การประเมิน KSAOs ไม่ใช่เรื่องขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น แต่องค์กรขนาดกลางก็สามารถทำได้เช่นกัน หากมีแนวทางและเครื่องมือที่เหมาะสม

อ่านบทความอธิบายเกี่ยวกับ KSAOs ที่ผมเคยเขียนไว้แล้วได้ ที่นี่


1. เริ่มจากการ "วิเคราะห์งาน (Job Analysis)" อย่างเป็นระบบ

การประเมิน KSAOs เริ่มจากการเข้าใจเนื้องานอย่างแท้จริง

  • รวบรวมข้อมูลจาก Job Description / Job Profile ที่มีอยู่เดิม

  • สัมภาษณ์ผู้จัดการสายงาน และพนักงานที่ปฏิบัติงานจริง

  • ใช้แบบฟอร์มง่ายๆ เช่น "ภารกิจหลักของตำแหน่ง" และ "คุณลักษณะที่จำเป็นต่อความสำเร็จ"


Tip: ใช้ Google Forms หรือ MS Forms เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นจากหลายตำแหน่งได้รวดเร็ว


2. แยกแยะองค์ประกอบ KSAOs อย่างชัดเจน

เมื่อได้ข้อมูลจาก Job Analysis ให้เริ่มวิเคราะห์องค์ประกอบ KSAOs

องค์ประกอบ

วิธีระบุ

ตัวอย่าง

Knowledge

จากข้อกำหนดในงานหรือกฎหมาย

ความรู้ด้าน ISO 9001, ความรู้ทางบัญชี

Skills

จากกิจกรรมที่ต้องทำจริง

การใช้ Excel, การเจรจาต่อรอง

Abilities

จากพฤติกรรม/ลักษณะเฉพาะ

ความคิดเชิงวิเคราะห์, ความแม่นยำ

Other Characteristics

จากค่านิยม/บุคลิก/ใบรับรอง

ใบอนุญาต, ความเป็นผู้นำ



ตัวอย่างของการทำ Job Analysis ของพนักงาน Incoming QC
ตัวอย่างของการทำ Job Analysis ของพนักงาน Incoming QC

3. กำหนดระดับความจำเป็น (Required Proficiency Level)

ใช้ระดับความสามารถเพื่อประเมินว่าในแต่ละตำแหน่งต้องการ KSAOs ในระดับใด เช่น

  • 1 = รับรู้เบื้องต้น

  • 2 = สามารถใช้งานภายใต้การควบคุม

  • 3 = ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

  • 4 = เชี่ยวชาญ/เป็นผู้นำสอนคนอื่นได้


เครื่องมือนี้ช่วยให้เข้าใจว่าใคร “เหมาะกับงาน” และใคร “ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม”

4. สร้างเครื่องมือประเมิน (Assessment Tools)

  • แบบสอบถามตนเอง (Self-Assessment)

  • การประเมินโดยหัวหน้างาน (Supervisor Assessment)

  • การทดสอบทักษะจริง เช่น Excel test, Communication Role-play

  • ประเมินจากผลงานในอดีตหรือ KPI


Tip: ใช้ Excel ทำ Template ง่ายๆ ก็เพียงพอแล้วในองค์กรขนาดกลาง

5. ใช้ผลการประเมินเพื่อการพัฒนา

  • กำหนด Skill Gap แล้วจัดทำ Training Roadmap

  • เชื่อมโยงผลกับ Succession Planning และ Career Path

  • ใช้ผลประเมินวางแผนปรับค่าตอบแทนหรือโปรโมชันอย่างเป็นธรรม


6. ประเมินซ้ำตามรอบ (Review Loop)

ควรมีการทบทวนทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่ออัปเดตความสามารถ และปรับแผนให้ทันสถานการณ์จริง



สรุป

การประเมิน KSAOs อย่างเป็นระบบไม่จำเป็นต้องยุ่งยากหรือใช้ทรัพยากรจำนวนมากเสมอไป โดยเฉพาะในองค์กรขนาดกลาง หากเริ่มต้นจากความเข้าใจในงาน มีเครื่องมือที่เหมาะสม และใช้ผลลัพธ์ต่อยอดอย่างมีกลยุทธ์ องค์กรของคุณจะสามารถ:

  • วางคนให้เหมาะกับงาน

  • พัฒนาทักษะได้ตรงจุด

  • สร้างความโปร่งใสในการบริหารคน

  • ลดความเสี่ยงจากการลาออกหรือจ้างงานผิดพลาด


PVI Consultant พร้อมช่วยคุณประเมิน พัฒนา และวางระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน


สนใจฝึกอบรมกับเรา



 
 
 

Comentarios


bottom of page